![]() |
https://www.google.co.th/url?sa=i&r |
1. บทนำ
แนวโน้มในอนาคตภายในครอบครัวจะมีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในชีวิตประจำวันกันมากขึ้น เทคโนโลยีสารสนเทศ
จึงมีความสำคัญมากในปัจจุบัน และมีแนวโน้มมากยิ่งขึ้นในอนาคต เพราะเป็นเครื่องมือในการดำเนินงาน
สารสนเทศให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพนับตั้งแต่การผลิต การจัดเก็บ การประมวลผล การเรียกใช้
และ การสื่อสาร ความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศสรุปได้ ดังนี้
- ช่วยในการจัดระบบข่าวสารจำนวนมหาศาลของแต่ละวัน
- ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสารสนเทศ เช่น การคำนวณตัวเลขที่ยุ่งยาซับซ้อน
การจัดเรียง ลำดับสารสนเทศ ฯลฯ
- ช่วยให้สามารถเก็บสารสนเทศไว้ในรูปที่สามารถเรียกใช้ได้ทุกครั้งอย่างสะดวก
- ช่วยให้สามารถจัดระบบอัตโนมัติเพื่อการจัดเก็บประมวลผล และเรียกใช้สารสนเทศ
- ช่วยในการเข้าถึงสารสนเทศได้อย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพมากขึ้น
- ช่วยในการสื่อสารระหว่างกันได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ลดอุปสรรคเกี่ยวกับเวลาและระยะทาง
โดยการใช้ระบบโทรศัพท์ และอื่นๆ
ดังนั้นเราอาจจะกล่าวได้ว่าเทคโนโลยีสารสนเทศได้เข้ามีบทบาทสูงขึ้นอย่างมากในการดำเนินงาน
และการตัดสินใจของคนในสังคม ปัจจุบันจึงเรียกว่า สังคมสารสนเทศ ซึ่งหมายถึงการที่สารสนเทศกลายเป็น
สิ่งที่เชื่อมโยงหน่วยต่างๆ ในสังคมเข้าด้วยกัน และสร้างสังคมขับเคลื่อนด้วยสารสนเทศ การจัดระบบสารสนเทศที่ดีจะช่วยให้การบริหารงาน
เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งข้อมูลและสารสนเทศที่มีคุณภาพจะต้องมีความเที่ยงตรงตามเรื่องที่ต้องการ
ใช้เรียกใช้สะดวก รวดเร็ว และทันต่อเวลา โดยภาพรวมแล้วระบบสารสนเทศโดยทั่วไปจะมีประโยชน์สามประการ
ดังนี้
- ประโยชน์ในการบริหารงาน การตัดสินใจสั่งการ การวางแผน การปฏิบัติงานในหน่วยงานนั้นๆ
- ประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งระดับสูงกว่า และต่ำกว่าเพื่อให้ระบบสารสนเทศเป็นมาตรฐานเดียวกัน
2. ขอบข่ายของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
ขอบข่ายของเทคโนโลยีสารสนเทศนั้นจะเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีผลิตภัณฑ์และกระบวนการหลายด้าน เช่น เทคโนโลยีการจัดการฐานข้อมูล การจัดพิมพ์ระบบอิเล็กทรอนิกส์
การประมวลผลตัวเลข การประมวลผลภาพ คอมพิวเตอร์สำหรับช่วยออกแบบและช่วยการผลิต (CAD/CAM) เป็นต้น ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ จะประกอบด้วย
2.1 ระบบประมวลผลรายการ (Transaction Processing
System) เป็นระบบที่ทำหน้าที่ใน การปฏิบัติงานประจำและทำการบันทึกจัดเก็บ
ประมวลผลที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน และให้สารสนเทศสรุปเบื้องต้นของการปฏิบัติงานประจำวัน
2.2 ระบบสำนักงานอัตโนมัติ (Office Automation System) เป็นระบบสนับสนุนงานธุรการในหน่วยงาน เพื่อให้พนักงานระดับธุรกิจสามารถทำหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพ
ระบบนี้จะเกี่ยวข้องกับการจัดการเอกสาร ได้แก่
การติดต่อประสานงานผ่านระบบไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
(Electronic mail) ระบบฝากข้อความ (Voice Mail)
2.3 ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management Information Systems) เป็นระบบ สารสนเทศสำหรับผู้บริหารระดับกลาง เพื่อใช้ในการวางแผน บริหารจัดการและควบคุมงาน
โดยทั่วไประบบ นี้จะเชื่อมโยงข้อมูลที่อยู่ในระบบประมวลผลเข้าด้วยกัน
2.4 ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ (Decision Support System) เป็นระบบที่ช่วยผู้บริหาร ในการตัดสินใจสำหรับปัญหาที่อาจมีโครงสร้างหรือขั้นตอนการหาคำตอบที่แน่นอนตายตัวเพียงบางส่วนหรือ
เป็นกรณีเฉพาะ นอกจากนี้ระบบนี้ยังเสนอทางเลือกต่างๆ ให้ผู้บริหารพิจารณา เพื่อเลือกทางเลือกที่เหมาะสมที่สุด หลักการของระบบสนับสนุนการตัดสินใจสร้างขึ้นจากแนวคิดการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยในการตัดสินใจ
อย่างมีประสิทธิภาพ
![]() |
https://www.google.co.th/url?sa=i&rc |
3 .หน้าที่ของเทคโนโลยีสารสนเทศ
เทคโนโลยีสารสนเทศมีหน้าที่ที่จะช่วยให้ผู้ใช้ได้รับ “สารสนเทศ” ตามที่ต้องการถ้าปราศจากเทคโนโลยีสารสนเทศแล้ว จะเป็นการยากอย่างยิ่งในการสื่อสารสารสนเทศทั้งนี้เพราะในภาวะปัจจุบันมี
สารนิเทศจำนวนมากมายมหาศาล เพราะการเพิ่มปริมาณของเอกสาร อย่างล้นเหลือ
(Publication Explosion) ทำให้เกิดภาวะที่เรียกว่า
“INFORMATION EXPLOSION” จึงทำให้มีการนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ เพราะเทคโนโลยีสารสนเทศมีประโยชน์ต่อผู้ใช้สรุปได้ดังนี้
- ช่วยในการสื่อสารระหว่างกันอย่างรวดเร็ว ทั้งโทรศัพท์ โทรสาร อินเตอร์เน็ต
ฯลฯ - เทคโนโลยีสารนิเทศใช้ในการจัดระบบข่าวสาร ซึ่งผลิตออกมาแต่ละวันเป็นจำนวนมหาศาล
- ช่วยให้สามารถเก็บสารสนเทศไว้ในรูปที่สามารถเรียกใช้ได้อย่างสะดวกไม่ว่าจะใช้กี่ครั้งก็ตาม
- ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสารสนเทศ เช่น ช่วยนักวิทยาศาสตร์ วิศวกรในด้านการคำนวณ
ตัวเลขที่ยุ่งยาก ซับซ้อน ซึ่งไม่สามารถทำให้สำเร็จได้ด้วยมือ
- ช่วยให้สามารถจัดระบบอัตโนมัติ เพื่อการเก็บ เรียกใช้และประมวลผลสารสนเทศ
- สามารถจำลองแบบระบบการวางแผนและทำนาย เพื่อทดลองผลกับสิ่งที่ยังไม่เกิดขึ้น
- อำนวยความสะดวกใน “การเข้าถึงสารสนเทศ”
(ACCESS) ดีกว่าสมัยก่อนทำให้บุคคลและองค์กร มีทางเลือกที่ดีกว่า มีประสิทธิภาพกว่า
และสามารถแข่งขันกับผู้อื่นได้ดีกว่า
4. การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ
การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศมีประเด็นที่จะต้องพิจารณาหลายเรื่องด้วยกันได้แก่
4.1 การประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศ ด้
4.2 การวางแผนกลยุทธ์ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
4.3 การกำหนดมาตรฐา
4.4 การลงทุนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
4.5 การจัดองค์กร โดยคำนึงถึง
- หน่วยงานที่จะดูแลทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ
- บุคลากรที่เหมาะ
- ผลตอบแทนต่อบุคลากร
4.6 การบริหารงานพัฒนาระบบ
4.7 การจัดการผู้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
4.8 การจัดการข้อมูล ปัญหาคือการแบ่งปันการใช้ข้อมูล
4.9 การรักษาความมั่นคงปลอดภัยของระบบสารสนเทศ
4.10 ความสัมพันธ์กับผู้บริหาร
4.11 การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ
![]() |
https://www.google.co.th/url?sa=i |
5. การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
การใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศ
จะมีลักษณะเป็นแบบการประยุกต์ใช้ โดยเฉพาะในสภาพสังคม ปัจจุบัน มนุษย์สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศช่วยปฏิบัติงานในด้านต่างๆ
ได้อย่างมีประสิทธิผลได้แก่
5.1 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานสำนักงาน ปัจจุบันสำนักงานจำนวนมากได้นำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาประยุกต์ใช้อย่างแพร่หลาย
ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความสะดวกรวดเร็ว ความถูกต้อง และสามารถจัดพิมพ์ฉบับซ้ำได้เป็นจำนวนมาก
เป็นต้น
ระบบประมวลผลคำนี้จำแนกได้
2 ระบบคือ ระบบ Stand - Alone เป็นระบบที่สามารถประมวลผลได้ภายในคอมพิวเตอร์ชุดเดียว
โดยไม่ผ่านช่องทางการสื่อสาร และระบบเชื่อมโยงกับข่ายการสื่อสาร เป็นระบบที่มีการเชื่อมโยงสารสนเทศซึ่งกัน
และกันผ่านเครือข่ายโทรคมนาคม
- งานกระจายเอกสาร
- งานจัดเก็บและค้นคืนเอกสาร
- งานจัดเตรียมสารสนเทศในลักษณะภาพ
- งานสื่อสารสารสนเทศด้วยเสียง
- งานสื่อสารสารสนเทศด้วยภาพและเสียง
5.2 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานอุตสาหกรรม โรงงานอุตสาหกรรมหลายแห่งนำระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
(Management Information System : MIS) เข้ามาช่วยจัดการด้าน ผลิต การสั่งซื้อ การพัสดุ การเงิน บุคลากร และงานด้านอื่นๆ ตัวอย่างการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานอุตสาหกรรม ได้แก่
- อุตสาหกรรมผลิตรถยนต์
- อุตสาหกรรมการพิมพ์
5.3 การประยุกต์ ใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศในงานการเงินและการพาณิชย์ สถาบันการเงินเช่นธนาคาร
ได้ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในรูปแบบของ ATM เพื่ออำนวยความสะดวกในการฝากถอน โอนเงิน ในส่วนของ
งานประจำธนาคารต่างนำคอมพิวเตอร์ระบบออนไลน์และออฟไลน์เข้ามาช่วยปฏิบัติงาน ทำให้การเชื่อมโยง
ข้อมูลธนาคารเป็นไปอย่างสะดวก รวดเร็ว ทุกสาขาสามารถเชื่อมโยงกับสาขาอื่นหรือสำนักงานใหญ่
และ สามารถเชื่อมโยงกับธนาคารอื่นได้
5.4 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานการบริการการสื่อสาร ได้แก่ การบริการโทรศัพท์
โทรศัพท์เคลื่อนที่ วิทยุ โทรทัศน์ เคเบิลทีวี การค้นคืนสารสนเทศระบบออนไลน์ ดาวเทียม
และโครงข่าย บริการสื่อสารร่วมระบบดิจิตอล (ISDN) เป็นต้น
5.5 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในงานด้านการสาธารณสุข สามารถนำมาประยุกต์ได้หลาย
ด้าน ได้แก่
- ระบบสารสนเทศโรงพยาบาล
(Hospital Information System : HIS)
- ระบบสาธารณสุข
- ระบบผู้เชี่ยวชาญ
(Expert System)
5.6 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับงานด้านการฝึกอบรมและการศึกษา การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการศึกษานั้น
มีแนวทางในการใช้มากมายขึ้นแต่ที่ ใช้กันอยู่โดยทั่วไปมี 6 ประเภท
คือ
- การใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน
(Computer Assisted Instruction : CAI)
- การศึกษาทางไกล
- เครือข่ายการศึกษา
- การใช้งานห้องสมุด
- การใช้งานในห้องปฏิบัติการ
6. ซอฟต์แวร์เพื่อสังคม (Social software)
6.1 ความหมาย
ซอฟต์แวร์เพื่อสังคม
คือซอฟต์แวร์ที่ทำให้ผู้คนสามารถนัดพบปะ เชื่อมสัมพันธ์หรือทำงานร่วมกันโดยมีคอมพิวเตอร์เป็นสื่อกลาง
เกิดเป็นสังคมหรือชุมชนออนไลน์ เราต้องทำความเข้าใจกับคำว่า
ซอฟต์แวร์เพื่อสังคมก่อน จำแนกซอฟต์แวร์เพื่อสังคมนั้นเป็น
2 กลุ่มคือ กลุ่มที่ใช้ประโยชน์ในการติดต่อสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ต และกลุ่มที่ใช้ประโยชน์ในการจัดการความรู้ มีจุดกำเนิดมาจากการร่วมมือกันระหว่างโปรแกรมเมอร์ และกลุ่มคนทางสังคม
6.2 ชนิดของเครื่องมือที่ใช้ในการติดต่อสื่อสาร
เครื่องมือซอฟต์แวร์สังคม สามารถแบ่งออกได้เป็นสองประเภทคือ
เครื่องมือเพื่อการสื่อสาร และเครื่องมือเพื่อการจัดการความรู้
1) เครื่องมือเพื่อการสื่อสาร แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
-เครื่องมือที่ใช้ในการสื่อสาร สองฝ่ายไม่พร้อมกัน (asynchronous) คือไม่จำเป็นต้องเผชิญหน้ากัน ตัวอย่างเช่น
การใช้ E-mail , Web board , Newsgroup เป็นต้น
-เครื่องมือที่ช่วยในการสื่อสารคนสองคนหรือเป็นกลุ่มแบบสองฝ่ายพร้อมกัน
(synchronous ) เช่น การสนทนาผ่านโปรแกรม Chat , ICQ , MSN เป็นต้น
2) เครื่องมือเพื่อการสร้างการจัดการความรู้
เป็นเครื่องมือในกลุ่มที่ใช้เพื่อประโยชน์ เพื่อการจัดการความรู้
มีหลายอย่าง โดยแบบเบื้องต้นเช่น การสืบค้นข้อมูล ส่วนในระดับถัดมา เป็น เครื่องมือเพื่อการใช้ข้อมูลร่วมกัน
รวมทั้งให้ความรู้ และสร้างความรู้ใหม่ เช่น Wiki , Blog เป็นต้น
เครื่องมือที่ใช้ในการการปฏิสัมพันธ์ ต่างจากเครื่องมือเพื่อการสื่อสาร ตรงที่เครื่องมือเพื่อการ
ปฏิสัมพันธ์นี้มุ่งเน้นเพื่อเสริมสร้างการเชื่อมโยงกันระหว่างผู้ใช้โดยอาศัยกลไกของการพูดคุยสนทนากัน
6.3 ตัวอย่างเครื่องมือทางสังคมต่างๆ
1) Blog
Blog
มาจากคำเต็มว่า WeBlog บางครั้งอ่านว่า We Blog บางคนอ่านว่า
Web Log แต่ ทั้งสองคำบ่งบอกถึงความหมายเดียวกัน Blog คือการบันทึกบทความของตนเอง (Personal Journal) ลง บนเว็บไซต์
ใน blog นั้นจะมีเนื้อหาเป็นเรื่องใดก็ได้ เช่น การเขียนเรื่องราวของตนเอง
การเขียนวิจารณ์เรื่องราวหรือหัวข้อหรือสิ่งที่ตนเองสนใจต่างๆ เช่น การเขียนวิจารณ์สถานการณ์การเมืองของประเทศไทย
หรือการบอกถึงผลที่ได้รับจากการใช้ผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่ตัวเองเคยใช้ หรือซื้อมา เป็นต้น
Blog
ประกอบด้วย ข้อความ, hypertext, รูปภาพ และ ลิงค์ (ไปยังเว็บ,
วีดีโอ, ข้อมูลเสียงและ อื่นๆ) blog จะอยู่ในรูปบทสนทนาระหว่างเอกสาร โดยผู้ที่ใช้ blog สามารถเขียนข้อความแสดงความคิด
เห็นของตนเองได้ ซึ่ง blog มีทั้งเป็น blog เฉพาะบางกลุ่ม หรือเป็น blog ทั่วๆ ไปก็ได้ การเพิ่มบทความ
ให้กับ blog ที่มีอยู่ เรียกว่า “blogging” บทความใน blog เรียกว่า “posts” หรือ “entries” บุคคลที่ โพสลงใน
“entries” เหล่านี้เรียกว่า “blogger”
จุดเด่นที่สุดของ Blog ก็คือ Blog สามารถเป็นเครื่องมือสื่อสารชนิดหนึ่ง
ที่สามารถสื่อถึงความเป็นกันเองระหว่างผู้เขียนบล็อก และผู้อ่านบล็อกที่เป็นกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจนของบล็อกนั้นๆ ผ่านทางระบบ comment ของบล็อกนั่นเอง
ความสะดวกและง่ายในการเขียน Blog ทำให้สามารถเผยแพร่ความคิดเห็นได้ง่ายขึ้น รวมถึงยังมีการ comment จากผู้ที่สนใจเรื่องเดียวกันได้อีกด้วย ทำให้เกิดการเรียนรู้ใหม่ๆ
เพราะบางครั้ง ข้อมูลจาก Blog เป็นข้อมูลที่ไม่เคยปรากฎที่ไหนมาก่อนอีกด้วย
Blog จะมีลักษณะบางประการที่แตกต่างจากเว็บเพจมาตรฐานทั่วไป blog จะมีอุปกรณ์ที่จะช่วยให้ สร้างหน้าเว็บใหม่ได้ง่าย
เช่น การใส่ข้อมูลใหม่(โดยมีหัวข้อ, ประเภท, และเนื้อความ)
Blog แตกต่างจากฟอรั่มหรือ newsgroup ตรงที่เฉพาะผู้แต่งหรือกลุ่มผู้แต่งที่จะสามารถสร้างหัวข้อใหม่ใน blog
ข้อความและ hyperlinks เป็นที่พบเห็นได้ทั่วไปตาม blog ต่างๆ แต่บาง blog จะเน้นรูปภาพ (เช่น web comics และ photoblogs) และ วีดีโอ บาง blog ลิงค์ไปที่ไฟล์เสียง
(podcasting) blog สำหรับ mp3 ก็มีข้อมูลเพลงแยกตามประเภท
blog บางอย่างปรากฏเฉพาะบนมือถือเรียกว่า moblog
สำหรับกระแส open source เป็นวิธีที่ให้ประชาชนเข้าร่วมโดยตรงทางการเมือง
bloggers หลายคนแปลกแยกตัวเองออกจากสื่อหลักๆ ในขณะที่
bloggers หลายคนใช้ blog ในทางอื่น เช่นส่งข้อความสู่
สาธารณะ
![]() |
https://www.google.co.th/url?sa=i&rct=j&q |
Blog ถูกมองว่าเป็นการรวบรวมความคิดของมนุษย์ สามารถนำมาใช้ช่วยกับปัญหาด้านจิตวิทยา สามารถนำมาช่วยแก้ปัญหาอาชญากรรมได้ ยังส่งผลให้ชนกลุ่มน้อยที่มีผู้พูดและศึกษาภาษาของชนกลุ่มนั้นๆไม่มาก
มารวมกลุ่มกัน blogging จึงเป็นช่องทางเผยแพร่งานพิมพ์อย่าง ประหยัดและมีประสิทธิภาพ
2) Internet
Forum
มีไว้สำหรับเก็บการอภิปรายหรือซอฟต์แวร์ที่ให้บริการด้านนี้ Internet forums
อนุญาตให้ผู้ใช้สามารถโพสหัวข้อลงไปในกระดานผู้ใช้คนอื่นๆ ก็สามารถเลือกดูหัวข้อหรือม้กระทั่งโพสความคิดเห็นของตนเองลงไปได้ ฟอรั่มโดยส่วนใหญ่จะอนุญาตให้ใคร
ก็ได้สามารถละเบียนเข้าใช้งานได้ตลอดเวลา มีเพียงบางฟอรั่มที่จำกัดสมาชิกให้มีความเป็นส่วนตัวโดย
อาจจ่ายเงินเพียงเล็กน้อยเพื่อเข้าใช้งานเป็นกลุ่มเฉพาะ
3)
Wiki
เป็นเทคโนโลยีที่ทำให้เรา สามารถสร้างและแก้ไขหน้าเว็บเพจขึ้นมาใหม่ผ่านทางบราวเซอร์
โดยไม่ต้องสร้างเอกสาร html เหมือนแต่ก่อน แต่ Wiki เน้นการทำระบบสารานุกรม , HOWTOs ที่รวมองค์ความรู้หลายๆ
แขนงเข้าไว้ด้วยกัน รองรับภาษา มากกว่า 70 ภาษารวมทั้งภาษาไทย
สำหรับภาษาไทยสามารถเข้าอ่านได้ http://th.wikipedia.com
4)
Instant Messaging
เป็นการอนุญาตให้มีการติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคลบนเครือข่ายที่เป็นแบบ relative privacy ตัวอย่าง client ที่เป็นที่นิยมเช่น Skype, ICQ, Yahoo Messenger ,
MSN Messenger เป็นต้น
ในการใช้งานดังกล่าวจะสามารถเพิ่มรายชื่อให้อยู่ใน contact list หรือ buddy list ได้ โดยการใส่ e-mail
address หรือ messenger ID ลงไป
5)
Social network services
Social network
services จะอนุญาตให้ใครก็ได้แบ่งปันความรู้ สิ่งที่สนใจต่าง ๆ ร่วม
กัน เช่น บางที่สร้างเพื่อเอาไว้นัดเดทกัน เพราะฉะนั้นผู้ใช้ก็อาจจะโพสข้อมูลส่วนตัว
ที่อยู่ เพศ เบอร์โทรศัพท์ เพื่อให้ผู้อื่นที่สนใจสามารถค้นหาข้อมูลได้โดยสะดวก ตัวอย่างเช่น
iKarma, ArtBoom, Orkut, Friendster, Linkedin, openBC, Facebook, Twitter เป็นต้น
![]() |
https://www.google.co.th/url?sa=i&rct=jxxx |
6)
Social guides
เป็นที่สำหรับการนัดพบกันได้จริงๆ
บนโลก เช่น ร้านกาแฟ ร้านอาหาร เป็นต้น ตัวอย่าง เช่น CafeSpot, Tagzania และ WikiTravel เป็นต้น
7)
Social bookmarking
บางที่อนุญาตให้ผู้ใช้สามารถโพส list of bookmark ( favorite websites ) ลงไปได้เพื่อ แลกเปลี่ยนแหล่งข้อมูลที่ตนเองสนใจ
เช่น Linko , Spurl , BlinkList , RawSugar เป็นต้น
8)
Social Citations
มีลักษณะคล้าย social bookmarking มาก แต่จะเน้นไปทางด้านการศึกษาของนิสิต
นักศึกษา โดยอนุญาตให้ผู้ใช้แลกเปลี่ยนข้อมูลต่าง ๆ งานวิจัย หรือสาระความรู้ที่สนใจ
โดยสามารถแบ่งเป็น หมวดหมู่ต่าง ๆ ตามแต่ผู้ใช้จะจัดสรร ตัวอย่างเช่น
CiteUlink เป็นต้น
9)
Social Shopping Applications
มีประโยชน์ในเรื่องการเปรียบเทียบสินค้า
ดูรายการสินค้า เป็นต้น ตัวอย่างเช่น
SwagRoll, Kaboodle , thethingsiwant.com และ Yahoo!
Shoposphere
10)
Internet Relay Chat
Internet Relay
Chat หรือ IRC จะอนุญาตให้ผู้ใช้สนทนาในห้อง
chat rooms ซึ่งอาจมี หลายๆคนที่เข้าใช้งานในกลุ่มสนทนาในห้องดังกล่าว
ผู้ใช้สามารถสร้างห้องใหม่หรือเข้าไปในห้องที่มีอยู่แล้ว ก็ได้ ทั้งนี้ผู้ใช้คนนั้นๆ
อาจพิมพ์ข้อความลงไปแล้วให้คนทั้งห้องอ่านได้ ซึ่งผู้ใช้ในห้องแต่ละห้องอาจจะมีการ
เข้าไปใช้งานและออกจากห้องสนทนาอยู่ตลอด ผู้ใช้ยังสามารถเชิญผู้ใช้คนอื่นเข้ามาร่วมสนทนาในห้องที่ตนเอง
อยู่หรือเป็นผู้สร้างเองก็ได้ ซึ่งในการสนทนาระหว่างกันนั้นจะเป็นแบบหนึ่งต่อหนึ่ง
หรือหลายต่อหลายก็ได้ 11) Knowledge Unifying Initiator (KUI)
Knowledge
Unifying Initiator หรือเรียกย่อๆ ว่า KUI หรือ
“คุย” ในภาษาไทย หมายถึงการสนทนา โดยคำว่า
Knowledge Unifying Initiator หมายถึง กลุ่มผู้รวบรวมความรู้ โดย
KUI จัดว่าเป็นซอฟต์แวร์ทางสังคม(Social Software) และการจัดการความรู้ (Knowledge anagement) เนื่องจากภายในโปรแกรม
KUI ประกอบด้วยโครงสร้างซึ่งแบ่งออกเป็น 3 หมวดหลักดังนี้
- Localization เป็นการเสนอคำแปลความหมายของประโยค วลี หรือคำศัพท์
- Opinion Poll เป็นการเสนอความคิดเห็นจากการสำรวจความคิดเห็น
- Public
Hearing เป็นข้อเสนอแนะ การตีความ ประชาพิจารณ์ ร่างกฎหมาย
6.4 การใช้ประโยชน์จากซอฟต์แวร์เพื่อสังคม
ซอฟต์แวร์เพื่อสังคม (Social software) ใช้ประโยชน์ในการประมวลทางสังคม
(Social computing) ในยุคที่ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
(ICT) เป็นทุนในการพัฒนาสังคม ในยุคนี้มี ความจำเป็นจะต้องสร้างระบบที่ก่อให้เกิดการมีส่วนร่วมจากสมาชิกในสังคมให้มากที่สุดโดยเฉพาะอย่างยิ่ง
การเปิดพื้นที่การมีส่วนร่วมใหม่ให้กับภาคประชาสังคม
เพื่อให้ประชาคมในทุกภาคส่วนได้มีโอกาสที่จะเข้า ถึงและทำงานเพื่อสังคมของตนด้วยตนเอง
ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ดังนั้นในการออกแบบซอฟต์แวร์เพื่อ สังคมจึงเน้นให้เป็นความเป็นปัจเจก
(individual) ของบุคคลไว้ การให้โอกาสปัจเจกบุคคลสามารถแสดงออก สู่สาธารณะโดยมีกระบวนการที่สนับสนุนให้มีการตอบสนองจากสังคมอย่างเท่าเทียมเป็นปารถนาสูงสุดของ
การประมวลทางสังคม
บล็อก (blog) หรือที่บางคนเรียกว่ากล่องข้อความ
เป็นซอฟต์แวร์เพื่อสังคมที่สามารถใช้ เพื่อการเสนอ
(Post) ข้อความต่อผู้อื่นในสังคม โดยสามารถให้ผู้อ่านบล็อกมีส่วนร่วมในการเสนอความคิด
เห็น (comment) ต่อข้อความที่เสนอได้โดยปกติแล้วผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วไปจะสามารถใช้บล็อกได้โดยไม่ต้องมีความรู้ทางเทคนิคมากนัก เมื่อบุคคลมีบล็อกของตนเองแล้วเขาย่อมมีโอกาสที่จะแสดงความคิดเห็น
ต่อเรื่องราวต่าง ๆ ที่เขาคิดเห็นว่าเขาควรมีส่วนร่วมได้ด้วยตนเองและเขาย่อมจะมีสิทธิที่จะขอรับความคิด
เห็นจากผู้อ่านบล็อกของเขาได้บล็อกจะเรียงลำดับเหตุการณ์จากปัจจุบันไปอดีต
จึงเป็นโอกาสที่ผู้ใช้จะบันทึกเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับผู้บันทึกได้ในทุก
ๆ เรื่อง ตามประสงค์ของผู้บันทึก ดังนั้นบล็อกจึงสามารถใช้เป็น แหล่งข้อมูลเบื้องต้นในกระบวนการจัดการความรู้
การสร้างลักษณะนิสัยให้ประชาชนในสังคมรักการบันทึก ข้อมูลเก็บไว้ในบล็อกจะเป็นประโยชน์อย่างมากในอนาคตของสังคมนั้น
ปัจเจกวิธาน (folksonomy) เป็นซอฟต์แวร์เพื่อสังคมที่สามารถใช้ประโยชน์ในการจัดหมวดหมู่
แห่งสรรพสิ่งที่ผู้ใช้สนใจ โดยผู้จัดหมวดหมู่เป็นผู้กำหนดเอง เป็นการให้โอกาสผู้ใช้เป็นผู้เลือกจัดและเป็นผู้
เรียกใช้คืนได้ตามที่ได้จัดไว้ ยังไม่มีปัจเจกวิธานตัวใดที่สามารถใช้จัดหมวดหมู่ได้ทุกสรรพสิ่ง
แต่มีซอฟต์แวร์ ปัจเจกวิธานเฉพาะเรื่องให้เลือกใช้จำนวนหนึ่ง
เจตจำนงสำคัญของการใช้ซอฟต์แวร์เพื่อสังคมอีกอันหนึ่งก็คือ
การเปิดโอกาสปัจเจกบุคคลได้มีโอกาส ในการสื่อสารต่อสาธารณะเพื่อประมวลสังคมของพวกเขาได้ด้วยตนเอง
การจัดการความรู้ (Knowledge management) เป็นเรื่องที่รู้จักกันมานานแล้ว
เทคนิคที่ใช้ในการ จัดการความรู้นั้นก็มีมากมายหลายวิธี เทคโนโลยีที่ถูกนำมาใช้เพื่อการจัดการความรู้ก็เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย แต่กระบวนการในการจัดการความรู้นั้นก็ยังเหมือนเดิม โดยหัวใจของกระบวนการในการจัดการความ
รู้ก็ยังคงความสำคัญอยู่ที่การแบ่งปันความรู้เหมือนเดิม อย่างไรก็ตามในยุคแห่งความรุ่งเรืองของเทคโนโลยี
สารสนเทศและการสื่อสารนี้ ได้มีความพยายามในการนำเอาซอฟต์แวร์เพื่อสังคมมาใช้ในกิจกรรมต่าง
ๆ ใน กระบวนการจัดการความรู้มากขึ้น นับตั้งแต่ การค้นหาความรู้ การจัดเก็บความรู้ด้วยวิธีการสร้างฐานความรู้
(Knowledge base) และในกระบวนการแบ่งปันความรู้ก็มีการส่งเสริมการนำซอฟต์แวร์เพื่อการทำงานร่วม
กันดังเช่นกรุ๊ฟแวร์ (groupware) มาใช้ประโยชน์
อย่างไรก็ตาม
ซอฟต์แวร์เพื่อสังคมที่ดีพึงคงคุณลักษณะของการเปิดพื้นที่ให้กับปัจเจกบุคคลในการ สื่อต่อสาธารณะโดยมีการควบคุมน้อยที่สุด
ทั้งนี้เพื่อให้การประมวลสังคม เป็นไปอย่างอิสระปราศจากการ ครอบงำจากเจ้าของเทคโนโลยีให้มากที่สุดดังนั้นการสร้างหรือพัฒนาซอฟต์แวร์เพื่อสังคมใด
ๆ พึงตระหนัก ถึงหลักการเคารพในสิทธิปัจเจก (Individual)
ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
![]() |
https://www.google.co.th/url?sa=i&rct=j |
7. การสืบค้นสารสนเทศทางอินเทอร์เน็ต
อินเทอร์เน็ตเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลขนาดใหญ่
จนได้รับสมญานามว่า “ห้องสมุดโลก” ซึ่งมีข้อมูล หลากหลายประเภทและมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
7.1 ลักษณะรูปแบบการค้นหาสารสนเทศทางอินเทอร์เน็ต มี 3 ลักษณะ
คือ
1) การค้นแบบนามานุกรม (Directory) หมายถึงการแจ้งแหล่งที่ตั้ง
ซึ่งบรรจุเนื้อหาหรือ เว็บไซต์ต่างๆ ไว้เป็นหมวดหมู่หรือกลุ่มใหญ่ ๆ และแต่ละกลุ่มจะแบ่งเป็นเรื่องย่อยๆ
ต่อไปเรื่อยๆ เหมือนกับ หลักการจัดหมวดหมู่หนังสือในห้องสมุด
2) การค้นหาแบบดรรชนี (Index) หรือคำสำคัญ
(Keywords) เป็นการค้นหาข้อมูลในลักษณะคำหรือวลี
ข้อความต่างๆ ที่อาจจะเป็นคำสำคัญ
(Keyword) ในการค้นหาลักษณะนี้ตัวโปรแกรมหรือเว็บไซต์จะมีเครื่องมือช่วยในการทำดรรชนีค้นที่เรียกว่า
Spider หรือ Robot หรือ Crawler ทำหน้าที่เช็คตามหน้าเว็บต่างๆ ของเว็บไซต์ที่มีการเปิดดูอยู่ แล้วนำคำที่ค้นมาจัดทำเป็นดรรชนีค้นหาโดยอัตโนมัติ
3) การค้นหาแบบ Metasearch Engines จุดเด่นของการค้นหาด้วยวิธีการนี้
คือ สามารถเชื่อมโยงไปยัง Search
Engine ประเภทอื่นๆ และยังมีความหลากหลายของข้อมูล
แต่การค้นหาด้วยวิธีนี้มีจุด ด้อย คือ วิธีการนี้จะไม่ให้ความสำคัญกับขนาดเล็กใหญ่ของตัวอักษร
และมักจะผ่านเลยคำประเภท Natural
Language (ภาษาพูด)
7.2 เครื่องมือประเภทใช้โปรแกรมค้นหา (Search engines)
โปรแกรมค้นหาเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการ
ค้นคืนสารสนเทศบน World Wide Web กันอย่าง
แพร่หลาย จัดทำดรรชนีของเนื้อหาเอกสารบนเว็บไซต์ทีละหน้าโดยจัดทำดรรชนีด้วยเครื่องกล
(machine indexing หรือ automatic indexing) ซึ่งเรียกว่า
spider, robot หรือ crawlers เครื่องมือประเภทนี้จึงมีจำนวนเอกสารมากกว่าเครื่องมือประเภทจัดหมวดหมู่
เครื่องมือประเภทนี้เป็นนิยามที่แคบของคำว่า search engines (นิยามที่กว้างของ search engines คือ เครื่องมือช่วยค้นทุกวิธีที่มีให้บริการในอินเตอร์เน็ต)
ข้อดีของการใช้โปรแกรมค้นหาคือ ครอบคุลมเนื้อหากว้างขวางและละเอียดเนื่องจากจัดทำดรรชนีทีละเว็บเพจ และ
ฐานข้อมูลมีการปรับปรุงให้ทันสมัยเป็นปัจจุบันตลอดเวลา เนื่องจาก spider จะ ตรวจสอบและจัดทำดรรชนีอย่างสม่ำเสมอ มีการเพิ่มหน้าเว็บเพจใหม่
และตัดหน้าเว็บเพจที่ไม่ทำงานออก ไปโดยอัตโนมัติอย่างน้อย 1 ครั้งในแต่ละวัน
แต่ข้อจำกัดของการค้นด้วยโปรแกรมค้นหาคือ ความเกี่ยวข้อง ของผลการสืบค้นน้อย
เนื่องจากการจัดทำดรรชนี จัดทำโดยอัตโนมัติจากการนับจำนวนคำที่ปรากฏในส่วน แรกของเว็บเพจ
และอาจปรากฏผลการสืบค้นซ้ำจากเว็บไซต์เดียวกัน เนื่องจากจัดทำดรรชนีทีละเว็บเพจ จึง
ส่งผลให้ได้ผลการสืบค้นมาก ผู้ใช้ต้องไล่ดูผลการสืบค้นจำนวนมาก ทำให้เข้าถึงข้อมูลที่ต้องการได้ยาก
Google มีจุดแข็งในเรื่องเทคโนโลยีการสืบค้นที่รวดเร็ว การเรียงลำดับผลการสืบค้นที่มี
ความเกี่ยวข้องสูง และการสืบค้นเป็นภาษาท้องถิ่นต่างๆ ในโลกเกือบ 100 ภาษา รวมทั้งภาษาไทย จึงทำให้ ได้รับความนิยมและเครื่องมือสืบค้นหลายตัวที่ใช้เทคโนโลยีของ
Google เช่น AOL iWon และ Netscape เป็นต้น
![]() |
https://www.google.co.th/url?sa=i&rct=j&q |
1) การสืบค้นข้อมูล
ผู้ใช้สามารถใช้ Google สืบค้นข้อมูล ด้วยการพิมพ์คำสำคัญหรือวลีที่ต้องการ
ซึ่งผลการค้น คืนแต่ละครั้งจะมีจำนวนมากดังนั้นการคิดเตรียมหาคำสืบค้นหรือเตรียมกลยุทธ์การสืบค้น
และ การศึกษา ลักษณะการสืบค้นของ Google จึงเป็นสิ่งสำคัญ โดยทั่วไปการสืบค้นด้วย
Google ทำได้โดยคิดหาคำค้นที่ จะทำให้ได้ผลการสืบค้นที่ตรงที่สุด เช่น
ต้องการหาข้อมูลเกี่ยวกับสถานศึกษาที่เปิดสอนด้าน Management Information
Systems หรือ ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการในประเทศไทยเป็นภาษาไทย ขั้นแรกคือ
หากใช้คำว่า “ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ” คำเดียว จะได้ข้อมูลออกมากว้างขวางเกินความต้องการ ต้องจำกัดด้วยการเพิ่มแง่มุมเฉพาะ
เช่น หลักสูตร ซึ่งซอฟแวร์จะนำไปบวกกับคำว่า “ระบบสารสนเทศเพื่อ
การจัดการ” ผู้ใช้จะได้ผลการสืบค้นที่เฉพาะตรงต่อความต้องการมาก
2) ลักษณะการสืบค้นของ Google
- ไม่จำเป็นต้องใส่ตัวเชื่อม
and (และ) ระหว่างคำโดย
Google จะเชื่อมคำอัตโนมัติ
- หาข้อมูลเพิ่มให้
เมื่อใช้ตัวเชื่อม OR (หรื อ) ตัวพิมพ์ใหญ่ระหว่างคำที่ต้องการ
เช่น vacation london OR paris คือหาทั้งใน
London และ Paris
- Google จะละคำทั่วๆ
ไป (เช่น the, to, of, how, where) และตัวอักษรเดี่ยวเพราะจะทำให้ค้น
ช้าลงถ้าต้องการค้นหาคำเหล่านี้ต้องเว้นวรรคก่อนแล้วพิมพ์เครื่องหมาย + นำหน้าคำนั้นเช่น computer programming +I
- การค้นหาแบบทั้งวลี
(กลุ่มคำ) ให้พิมพ์คำค้นในเครื่องหมายอัญประกาศ
(“ “) เช่น “computer programming I” และ
“The King and I”
- Google ค้นหาคำที่มีรากศัพท์เดียวกันให้โดยอัตโนมัติ
เช่น program จะค้นหา ทั้งคำว่า program,
programmer, programming และคำอื่นๆ ที่มีรากศัพท์เดียวกับ
program
- Google ตัดคำพ้องรูปโดยใช้เครื่องหมาย
– นำหน้าคำที่ไม่ต้องการ (เว้นหน้า –หลังไม่เว้น) เช่น คำว่า bass มี
2 ความหมายคือ เกี่ยวกับปลา และดนตรีถ้าจะตัดเว็บเพจที่มีความหมายเกี่ยวกับดนตรีออก
ก็พิมพ์ bass -music หมายความว่า bass ที่ไม่มีความหมายว่า music นอกจากนี้ยังสามารถตัดสิ่งที่ไม่
ต้องการแสดงในผลลัพธ์ได้ เช่น ขนมไทย -filetype:pdf จะค้นหาเว็บเพจเกี่ยวกับขนมไทยที่ไม่ใช่ไฟล์ นามสกุล .pdf
- Google ค้นหาที่มีความเหมือนกันโดยใช้เครื่องหมาย
“~” เช่น ~food จะค้นหาว่า recipeและ cooking ซึ่งมีความหมายเหมือนกับ food ให้ด้วย
![]() |
https://www.google.co.th/url?sa=i&rc9 |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น